ความหลากหลายทางชีวภาพพืช

Biodiversity of Plants Database

 

 

 

 

 

การสำรวจและศึกษาสังคมพืชในเขตป่าอนุรักษ์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นโครงการวิจัยที่เกิดขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ซึ่งสอดคล้องกับโครงการในแผนแม่บทของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปี พ.ศ. 2534 ที่กำหนดให้มีการพัฒนาพื้นที่ของมหาวิทยาลัยที่ 9,000 ไร่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัยของคนในชุมชน ภายใต้ (อุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติ) หนึ่งในแหล่งเรียนรู้ทั้งหมดก็คือ อุทยานพฤกษศาสตร์และวนอุทยาน แหล่งเรียนรู้ดังกล่าวนี้ถูกกำหนดให้มีการศึกษา สำรวจพรรณไม้ท้องถิ่นดั้งเดิมที่มีค่าอันเป็นเอกลักษณ์ของผืนป่าของมหาวิทยาลัย ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้นโดยคณะนักพฤกษศาสตร์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ (2538) พบว่า ป่ามีความหลากหลายของพรรณไม้ 219 ชนิด สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าพรุเสื่อมโทรมที่ถูกบุกรุกยึดครองเป็นที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของราษฎรประมาณ 800 ครั้วเรือน ที่เข้ามาอยู่อาศัยอย่างยาวนานหลายชั่วรุ่นและพื้นที่บางส่วนกลายสภาพเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ นาข้าว สวนเกษตรของประชาชนทั่วไป เหลือผืนป่าขนาดต่าง ๆ กันกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป พื้นที่ป่าส่วนใหญ่เหลืออยู่ประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้หลากหลายชนิดที่แสดงให้เห็นกลไกของการพัฒนาที่เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงแทนที่ (Succession) เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สภาพป่าดิบชื้นระดับตํ่าใกล้ระดับนํ้าทะเล ความหลากหลายของพรรณไม้จากรายงานผลการศึกษาสังคมพืชในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มารวย เมฆานวกุล, 2542) ว่ามีพันธุ์ไม้ในพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ถึง 313 ชนิด พันธู์ไม้เด่นประกอบด้วยเสม็ดขาว เสม็ดแดง ไม้นิงหรือไม้ดำ มะเมื่อย พลอง ไม้ชุมแสง พุดนํ้า นมแมว ยางพารา ยางนา แซะหว้าหิน ส้านใหญ่ เชียด รวมทั้งพืชกลุ่มเฟิร์น กลุ่มปาล์มและไม้เลื้อยชนิดต่าง ๆ ที่เจริญเติบโตในบริเวณพื้นที่ป่าพรุแห่งนี้มาก่อน นับว่าเป็นผืนป่าอีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจและเหมาะต่อการศึกษาเรียนรู้ด้านพืชพันธุ์ชนิดต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้อุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จึงได้กำหนดและจัดทำแนวเขตป่าอนุรักษ์เพื่อยั้งการรุกลํ้าเข้ามารบกวนด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการหาของป่าภายในเขตอุทยานพฤกษศาสตร์ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ามีการบุกรุกเข้ามาหาวัตุดิบและผลผลิตจากป่าชนิดต่าง ๆ อยู่เสมอ เช่น ด้ามจอบ ด้ามพร้า นอกจากนี้ยังพบว่ามีธุรกิจการค้าขายพรรณไม้หายากได้เข้ามาลักลอบขุดล้อมพันธุ์ไม้หายากไปขายอย่างต่อเนื่อง ทำให้พันธุ์ไม้เด่นที่เคยพบเห็นหลากหลายชนิดหายไปจากป่าของมหาวิทยาลัย

วงศ์ ACANTHACEAE
วงศ์ ANACARDIACEAE
ANCISTROCLADACEAE
วงศ์ ANNONACEAE
วงศ์ APOCYNACEAE
วงศ์ ARACEAE
วงศ์ ARECACEAE
วงศ์ARISTOLOCHIACEAE
วงศ์ ASTERACEAE
วงศ์ BLECHNACEAE
วงศ์ARISTOLOCHIACEAE
วงศ์ ASTERACEAE

gallery

PHOTO OF THE DAY

  X-PRESS SERVICE

We offer several lodging options for your group or family ski trip on the mountain resort. Fine tune your ski capabilities in a matter of a few days by exploring all the slopes in the area and visiting the many restaurants and bars.