โครงการสีเขียวอุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

อุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งดูแลพื้นที่สีเขียว การอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืช ให้มีความอุดมณ์สมบูรณ์ เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

WALAILAK UNIVERSITY GO GREEN อุทยานพฤกษศาสตร์

ความก้าวหน้า
Web Designer 96%

   อุทยานพฤกษศาสตร์ หน่วยงานที่ไม่ได้มีแต่สำหนักงานที่ประจำเพียงอย่างเดียว แต่เป็นหน่วยงานที่มีพื้นที่รายรอบด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติที่ทุกคนในหน่วยงานจะต้องร่วมกันดูแลรักษา ให้คงสภาพที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ รวมไปถึงแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในอนาคต
    อุทยานพฤกษศาสตร์ มีที่ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 222 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80161 มีพื้นที่ 3,000  กว่าไร่

      ขนาดพื้นที่ที่ปกคลุมด้วยพืชพรรณ (พื้นที่สีเขียวของหน่วยงาน)

      – จํานวนพื้นที่ที่ปลูกต้นไม้/สนามหญ้า/สวนหย่อม/ต้นไม้ที่ปลูกประดับภายในหน่วยงาน 

       จำนวนบุคลากรในหน่วยงาน ทั้งหมด 10 คน

     อุทยานพฤกษศาสตร์ มีการจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งประกอบด้วย
1) มีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยประหยัดพลังงาน
– การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า แอร์ ตู้เย็น ประหยัดไฟเบอร์ 5 ใช้หลอดไฟ  LED


2) การผลิตพลังงานหมุนเวียนภายในหน่วยงาน

                                        การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ Solar  Power

อุทยานพฤกษศาสตร์ ใช้พลังจากธรรมชาติมาประยุคใช้ในชีวิตประจำวันในหน่วยงาน
เช่น การรดนํ้าต้นไม้ในพื้นที่อุทยานพฤกษศาสตร์ โดยการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ การใช้
โซล่าเซลล์เพื่อเป็นตัวปล่อยพลังงานทำให้เครื่องไดโว่ทำงาน

3) โปรแกรมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
– การปั่นจักรยานแทนการใช้รถยนต์ การหิ้วปิ่นโตใส่อาหารแทนใส่ถุง และการร่วมกันปลูกต้นไม้ ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ร่วมในในวาระต่างๆ ทั้งหน่วยงานภายใน และร่วมกับหน่วยงานภายนอก

อุทยานพฤกษศาสตร์มีการจัดการของเสียภายในหน่วยงาน
3.1 อุทยานมีนโยบายการลดใช้กระดาษและพลาสติกภายในหน่วยงาน
         การใช้กระดาษ 2 หน้า และการประหยัดกระดาษโดยการส่งเอกสารผ่านระบบ e-office

3.2 โครงการรณรงค์การรีไซเคิลขยะ

                                              การทิ้งขยะให้ลงถัง ที่แยกประเภทไว้
3.3 การจัดการขยะมีพิษ (ในหน่วยงานไม่มีขยะที่เป็นพิษ)

3.4 การจัดการขยะอินทรีย์

                                            การนําขยะอินทรีย์บางส่วนไปทําปุ๋ยหมัก

3.5 การบําบัดขยะอนินทรีย์ (ในหน่วยงานไม่มีขยะอนินทรีย์)
3.6 การจัดการน้ำเสีย (ในหน่วยงานไม่มีนํ้าเสีย)

4.1 โครงการหรือกิจกรรมการอนุรักษ์/การลดการใช้น้ำในหน่วยงาน 
– การทำรางน้ำฝนเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้งาน
4.2  การดําเนินโครงการรีไซเคิลน้ำ (ในหน่วยงานไม่มีการรีไซเคิลนํ้า)
4.3  การใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำที่มีประสิทธิภาพ 
– ได้ติดตั้งเครื่อง ตั้งเวลาอัตโนมัติในการรดน้ำต้นไม้ เพื่อประหยัดน้ำและประหยัดเวลา
ในการรดน้ำ
4.4 นโยบายอนุรักษ์การใช้น้ำของหน่วยงาน (ยังไม่มีนโยบายในส่วนนี้)

5.1 จํานวนเฉลี่ยรถจักรยานที่ใช้งาน ภายในหน่วยงานของแต่ละวัน
5.2 ความคิดริเริ่มระบบการขนส่งเกี่ยวกับการลดยานพาหนะส่วนตัว
-ไปสถานที่เดียวกันไปด้วยกัน
5.3 นโยบายการใช้ทางเท้าและการใช้ รถจักรยาน

6.1.1 รายวิชาทั้งหมดที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
– การสนับสนุนและจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ รายวิชา GEN 61 ในเขตพื้นที่อุทยานพฤกษศาสตร์


6.1.2 จํานวนทุนวิจัยทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
-ได้ร่วมสนองพระราชรดำริฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ทั้งสิ้น   ๒๓ โครงการ
ในงบประมาณที่ ได้รับจริง  ๒,๘๘๕,๗๐๐ บาท โดยได้ปรับโครงการให้สอดคล้องกับกิจกรรมของมหาวิทยาลัย จึงมีการดำเนินโครงการทั้งสิ้น ๒๑ โครงการ

6.1.3 จํานวนทุนวิจัยทั้งหมด (ไม่มีข้อมูลในส่วนนี่) หมายเหตุ **สำหรับศูนย์ สถาบันและสำนักวิชา ที่ดำเนินการและเกี่ยวข้อง

6.1.4 จํานวนผลงานตีพิมพ์ที่เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนรา (ไม่มีข้อมูลในส่วนนี่) หมายเหตุ **สำหรับศูนย์ สถาบันและสำนักวิชา ที่ดำเนินการและเกี่ยวข้อง

6.1.5 จํานวนงานแสดงทางวิชาการที่ เกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและความ ยั่งยืน เช่น การประชุม
นิทรรศการ การดูงาน จัดสัมมนา หรือกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยหน่วยงาน

– นิทรรศการขยะทะเลและไมโครพลาสติก ในงาน วันทะเลโลก ครั้งที่ 12 ปี 2560 ณ ท่าเทียบเรือเอนกประสงค์เทศบาลตำบลปากนคร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 8 มิถุนาย 2560

– นิทรรศการขยะทะเลและไมโครพลาสติก ในงาน ศิลปะ ขยะ ทะเลสุข คนก็สุข ณ ชายหาดท่าสูงบน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 27 กรกฏาคม 2560

– นิทรรศการสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าสงวน 4 ชนิดใหม่ของไทยและกิจกรรม Upcycle การทำพวงกุญแจจากกล่องพลาสติก ในงานเบิกฟ้าทะเลกลาย ณ ชายหาดบ้านปากดวด ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 18 มิถุนายน 2562

– นิทรรศการสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าสงวน 4 ชนิดใหม่ของไทยและกิจกรรม Upcycle การทำพวงกุญแจจากกล่องพลาสติก ในงานวันวิชาการโรงเรียนมะฮัดอิสลามอีมานียะห์มูลนิธิ ตำบลโพธ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 25 กรกฏาคม 2562

– จัดกิจกรรม Upcycle การทำพวงกุญแจจากกล่องพลาสติกใช้แล้วให้กับนักเรียนจากโรงเรียนอนุบาลบ้านเด็ก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ อุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562

– จัดกิจกรรม Upcycle การทำพวงกุญแจจากกล่องพลาสติกใช้แล้วให้กับนักเรียนจากโรงเรียนวัดสโมสร อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ อุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562     

– จัดกิจกรรม Upcycle การทำพวงกุญแจจากกล่องพลาสติกใช้แล้วให้กับนักเรียนจากโรงเรียนชุมชนใหม่ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ อุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วันที่ 8 มีนาคม 2562   

– จัดกิจกรรม Upcycle การทำพวงกุญแจจากกล่องพลาสติกใช้แล้วให้กับนักเรียนจากโรงเรียนเทศบาลตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ณ อุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วันที่ 10 มีนาคม 2562     

– จัดกิจกรรมป่าชายเลนและการอนุรักษ์ให้กับนักเรียนจากโรงเรียนทุ่งใหญ่วิทยาคม อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทางทะเลและป่าชายเลน บ้านแหลม วันที่ 16 มีนาคม 2562   

– จัดกิจกรรมป่าชายเลนและการอนุรักษ์ให้กับนักเรียนจากโรงเรียนบ้านป่าระไมวิทยา อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ณ ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทางทะเลและป่าชายเลน บ้านแหลม วันที่ 16 มีนาคม 2562 

– จัดกิจกรรม Set zero pollution ให้กับนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วันที่ 26 เมษายน 2562   

– จัดกิจกรรมกิจกรรมการทำข้อมูลศึกษาพรรณไม้ กิจกรรมยาดมสมุนไพรไทย กิจกรรมการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ให้กับนักเรียนจากโรงเรียนปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ อุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วันที่ 11 กรกฏาคม 2562 

– จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ให้กับนักศึกษาปี 1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รายวิชา GEN61-152 การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสภาวะโลกร้อน ณ อุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วันที่ 31 กรกฎาคม 2562     

– จัดกิจกรรม Upcycle การทำพวงกุญแจจากกล่องพลาสติกใช้แล้วให้กับนักเรียนจากโรงเรียนบ้านทวดทอง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ อุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วันที่ 16 สิงหาคม 2562   

– จัดกิจกรรม Upcycle การทำพวงกุญแจจากกล่องพลาสติกใช้แล้วให้กับนักเรียนจากโรงเรียนอนุบาลพังงา อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา ณ อุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วันที่ 23 สิงหาคม 2562

6.1.6 จํานวนชมรมหรือองค์กรนักศึกษาที่ดําเนินกิจกรรมเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม (ไม่มีข้อมูลในส่วนนี่)

  •