ความหลากหลาย การครองพื้นที่ และการตรวจพบงูในพื้นที่มหาวิทยาลัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
        ในประเทศไทยพบงูมากกว่า 240 ชนิด แต่ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาและนิเวศวิทยาของงูในสภาพแวดล้อมที่มีการรบกวนจากมนุษย์ยังคงมีน้อย แม้จะมีความสำคัญต่อการอนุรักษ์และการแพทย์ในถิ่นที่อยู่อาศัยเหล่านี้ก็ตาม
        การศึกษาความหลากหลายของงูที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (1,525 เฮกตาร์, 9,545 ไร่) ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนธันวาคม 2566 โดยใช้การเดินเท้าสำรวจ การรายงานเหตุการณ์หรือสิ่งที่สังเกตเจอแบบไม่ได้มีการวางแผนเก็บข้อมูลตามปกติ การสำรวจตามถนน และการใช้กับดัก ทำการประเมินความหลากหลายโดยใช้ดัชนีความหลากหลายของ แชนนอน-ไวเนอร์ (H), ดัชนีความสม่ำเสมอทางชนิดพันธุ์ของพีลู (J), ความน่าจะเป็นในการสำรวจพบงู (p), และความน่าจะเป็นของการครอบครองเชิงพื้นที่ (ψ) พบงูจำนวน 195 ตัว (21 ชนิด, 7 วงศ์) และพบว่าความหลากหลายของงู (H = 2.60) และความสม่ำเสมอ (J = 0.85) โดยรวมค่อนข้างสูง แม้ว่าความหลากหลาย (H = 0–1.94) และความสม่ำเสมอ (J = 0.67–0.91) แต่ละพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยจะแตกต่างกันไป ความน่าจะเป็นในการสำรวจพบงู (p = .10–.40) เพิ่มขึ้นตามความชื้นที่เพิ่มขึ้น และลดลงเมื่อปริมาณฝน อุณหภูมิ และลมเพิ่มขึ้น; ความน่าจะเป็นของการครอบครองเชิงพื้นที่ลดลงเมื่อความสูงของเรือนยอดเพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้นเมื่อระยะห่างจากอาคารเพิ่มขึ้น การสูญเสียชั้นเรือนยอดเพิ่มขึ้น ระยะห่างจากถนนเพิ่มขึ้น และระยะห่างจากแหล่งน้ำเพิ่มขึ้น จากการศึกษาพบว่ามีความหลากหลายของงูค่อนข้างสูง มีชนิดของงูที่อาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ (6 ชนิด) และชนิดงูที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง (พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และอนุสัญญาไซเตส, 5 ชนิด) แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่สำคัญสำหรับการอนุรักษ์และการวิจัยเพิ่มเติมที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในประเทศไทย
ความหลากหลาย การครองพื้นที่ และการตรวจพบงูในพื้นที่มหาวิทยาลัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ความหลากหลาย การครองพื้นที่ และการตรวจพบงูในพื้นที่มหาวิทยาลัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ความหลากหลาย การครองพื้นที่ และการตรวจพบงูในพื้นที่มหาวิทยาลัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

SIRIN MUSEUM

ภาพข่าว

Facebook Comments Box