งูลายสาบคอแดง
  • ชื่ออื่น : –
  • ชื่อสามัญ : Red-necked Keelback
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhabdophis subminiatus (Schlegel, 1837)
  • ชื่อวงศ์ : Colubridae

ลักษณะ
  งูขนาดเล็ก หัวกว้างกว่าลำคอ ตาใหญ่ เกล็ดบนหัวเป็นแผ่นกว้าง  เกล็ดบนหลังและทางด้านบนของหางมีสัน เกล็ดที่อยู่ทางส่วนล่างของลำตัวเรียบ เกล็ดท้องขยายกว้าง เกล็ดใต้หางเป็นแถวคู่ เกล็ดรอบลำตัวในตำแหน่งกึ่งกลางตัวจำนวน 19 เกล็ด เกล็ดท้องจำนวน 169 เกล็ด และเกล็ดใต้หางจำนวน 62 เกล็ด
  งูวัยอ่อน ลำตัวด้านบนและส่วนหน้าของหัวสีเทา ตัวเต็มวัยหัวสีเขียว ด้านท้ายของหัวและส่วนต้นของลำคอสีเทาอมเหลือง ด้านข้างของหัวมีแถบสีดำจากด้านล่างของตาลงไปที่รอยต่อระหว่างเกล็ดขอบปากบนแผ่นที่ 5 กับแผ่นที่ 6 ขอบปากบนสีขาว แต่แผ่นเกล็ดมีขอบสีดำ ลำคอและส่วนต้นของลำตัวสีแดง เป็นที่มาของชื่องูลายสาบคอแดง บนหลังและทางด้านบนของหางสีเทาอมเขียว ผิวหนังลำตัวระหว่างแผ่นเกล็ดที่ปกคลุมตัวมีสีดำกับสีเหลือง ทำให้บนหลังมีลวดลายเป็นขีดสีเหลืองกับสีดำกระจาย ซึ่งมีมากทางส่วนต้นของลำตัว ใต้คาง ลำคอ และด้านท้องสีขาวอมเหลือง ขอบด้านนอกของเกล็ดท้องสีเทาอมเขียว ใต้หางสีขาวขุ่น งูวัยอ่อนบริเวณลำคอมีสีส้มอมแดง โดยมีสีเหลืองอยู่ทางด้านหน้า และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้ม และสีส้มอมแดงทางด้านท้าย และทางด้านหน้าของสีเหลืองหรือส่วนต้นของลำคอเป็นแถบกว้างสีดำ

พื้นที่อาศัย
  ใกล้แหล่งน้ำ 

นิสัย
  หากินในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ กินสัตว์เช่น คางคก กบ เขียด ปลา เป็นอาหาร เป็นงูพิษอ่อนอันตราย    

บรรณานุกรม
  กลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม. (2553). งูลายสาบคอแดง. สืบค้นจาก http://www.siamensis.org/species_index?nid=3511#3511–Species%20:%20Rhabdophis%20subminiatus.
  วิโรจน์ นุตพันธุ์. (2544). ลายงูไทย. กรุงเทพฯ: บ้านและสวน. 
  สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช. (2562). งูลายสาบคอแดง. สืบค้นจาก https://www.tistr.or.th/sakaerat/ Flora_Fauna/REPTILE/REPTILE1/%E0%B8%87%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%
E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87.pdf
.  

กลับไปยังหน้าหลัก ความหลากหลายทางชีวภาพสัตว์

(Biodiversity of Animals Database)
ฐานข้อมูลพันธุ์สัตว์ชนิดต่างๆ ที่พบได้ในอุทยานพฤกษศาสตร์