SDG11 Sustainble Cities and Communities

11.2.3 Public access to museums

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์มานิ (ซาไก)

        มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เพื่อสืบสานพระราชปณิธานในการอนุรักษ์ทรัพยากรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 โดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้เข้าร่วมส นองพระราชดำริฯ เพื่อสืบสานพระปณิธานในงานอนุรักษ์ทรัพยากรของประเทศด้วยเป็นมหาวิทยาลัยซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน มีฐานทรัพยากรท้องถิ่นที่มีความโดดเด่นทั้งด้านกายภาพและมรดกภูมิปัญญา ซึ่งมีพื้นที่ติดเทือกเขาหลวงและทะเลฝั่งอ่าวไทย เป็นแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติที่สวยงามและอุดมสมบูรณ์ ความหลากหลายทางชีวภาพ อีกทั้งเป็นพื้นที่ที่ถือเป็นศูนย์กลางอารยธรรมโบราณของภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็น อาณาจักรศรีวิชัย และอาณาจักรตามพรลิงค์ และศรีธรรมราชมหานคร ถือเป็นแหล่งศูนย์รวมด้านมรดกศิลปะวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่ส าคัญของไทย จึงถือเป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพในการสานต่อโครงการพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) ได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ มุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดความตระหนักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างรู้คุณค่า และยั่งยืนจากชุมชนไปสู่สังคม ซึ่งจะนำไปสู่การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของการมีจิตส านึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศไทยต่อไป

เป้าหมายการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

cropped
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา

        มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยอุทยานพฤกษศาสตร์ได้จัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ( Natural History Museum Walailak University ) ซึ่งรูปแบบของอาคารเป็นเลข 8 มีคอร์ทน้ าตกกรุงชิงและคอร์ทชายหาด ตามแนวคิด “ตามรอยเจ้าฟ้าจากยอดเขาสู่ใต้ทะเล” เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี งบประมาณการก่อสร้าง 301,880,000 บาท โดยใช้งบประมาณแผ่นดินผ่านโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) และจะเปิดใช้งานอย่างสมบูรณ์ในปี 2565 ตัวอาคารตั้งอยู่ริมอ่างกักเก็บนํ้าขนาดใหญ่ภายในอุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งมีฉากหลังเป็นเทือกเขาหลวง ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์จะจัดแสดงเนื้อหนิทรรศการเป็น 6 กลุ่ม (CLUSTER) จำนวน 7 ห้องนิทรรศการ ดังนี้

  • 1.ห้องเกริกไกรเจ้าฟ้านักอนุรักษ์
    เป็นห้องเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราขสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในการทรงงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนผลการดำเนินงานภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชขดำริฯ (อพ.สธ.) โดยจัดแสดงความคิดรวบยอดจากการเข้าชมและตอกย้ าถึงความมุ่งหมายของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแห่งนี้ว่าท้ายที่สุดแล้วต้องการให้ทุกคนตระหนักและเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ รู้จักอนุรักษ์และน าไปใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
  • 2.ห้องเขาหลวงทรัพยากรมากมี แสดงนิทรรศการของทรัพยากรกายภาพของเทือกเขาหลวง พืชพรรณที่สำคัญ สัตว์ นก เห็ด รา และจุลินทรีย์ แสดงวิธีการน าทรัพยากรไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
  • 3.ห้องวิถีชนเผ่า-วัฒนธรรมพื้นบ้าน นำเสนอเกี่ยวกับพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน (ethno botany) คือการนำพืชพรรณมาใช้ในวิถีชีวิตประจ าวันของชนพื้นเมือง ชนเผ่า ในที่นี้จะแสดงวิถีชีวิตตามภูมิปัญญาของชนเผ่าซาไก มอแกลน และชาวไทยทรงดำ
  • 4.ห้องการจัดการลุ่มน้้าปากพนัง แสดงผลการด าเนินงานของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ าเพื่อการเกษตรในพื้นที่ลุ่มนํ้าปากพนังอย่างยั่งยืน
  • 5.ห้องชายฝั่งอุดมสมบูรณ์ เน้นการแสดงให้เห็นกายภาพของชายหาด เพื่อให้เข้าใจการแปรรูปวัตถุดิบของชุมชนชายฝั่งต่อการใช้ชีวิต เศรษฐกิจ การเข้าใจทางกายภาพของชายหาดแต่ละแบบ ลักษณะของข้อดีและข้อเสีย การประมงพื้นบ้าน และสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศชายฝั่ง
  • 6.ห้องบริบูรณ์ทรัพยากรอ่าวไทย จัดแสดงให้เห็นองค์ความรู้ประกอบความตื่นเต้นไปพร้อมกัน ด้วยการใช้ตู้แสดงสัตว์นํ้า 4ตู้หลักคือ ตู้ปลาฉลามหรือปลาดุร้าย ตู้เฒ่าทะเล ตู้ปะการังและปลาสวยงาม พร้อมจัดระบบแสงสีเสียงให้ผู้ชมได้ยินเสียงการสื่อสาร หรือการเวียนว่ายของสัตว์เหล่านั้นอย่างเต็มอารมณ์
  • 7.ห้องสร้างจิตสำนึก เป็นห้องที่จะต้อบรวบยอดความรู้ของผู้ชมให้ได้ข้อสรุปจากการเข้าชมมาทั้งหมด และตอกย้ าถึงความมุ่งหมาายต่อพิพิธภัณฑ์แห่งนี้

        นอกจากตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแล้วภายในพื้นที่อุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ยังมีอาคารที่พักสำหรับผู้เข้าพักเป็นแบบหมู่คณะ พื้นที่ลานกางเต็นท์ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ และ Canopy Walkway พร้อมแอ่งนํ้าขนาดใหญ่ที่สามารถจัดกิจกรรมหรือกีฬาทางนํ้าสำหรับให้บริการผู้ที่มาพักค้างแรม หรือมาเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และเรียนรู้พืชพรรณไม้นานาชนิด กิจกรรมการดูนก การสำรวจเส้นทางธรรมชาติ กิจกรรมฝึกอบรมสัมมนา นันทนาการ หรือกิจกรรม/กีฬาทางนํ้าต่าง ๆ และที่พักใกล้ชิดธรรมชาติในบรรยากาศ slow life รวมทั้งโครงการ/กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ต่าง ๆ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต เป็นพื้นที่สร้างประสบการณ์ แรงบันดาลใจ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การสร้างกระบวนการเรียนรู้เชิงวิชาการ และการสร้างจิตส านึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรและภูมิปัญญา
วัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างยั่งยืนต่อไป

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา

        อีกทั้งมหาวิทยาลัยต้องการให้การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุตามเป้าประสงค์ที่มหาวิทยาลัย และ อพ.สธ.กำหนดไว้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดสร้างแหล่งเรียนรู้สนับสนุนตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาดังกล่าว ซึ่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้มีความประสงค์ในการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์สนับสนุนชาติพันธุ์ “มานิ” เพื่อส่งเสริมและต่อยอดให้เกิดแหล่งเรียนรู้ด้านฐานทรัพยากรวัฒนธรรมภูมิปัญญา เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิตด้านชาติพันธุ์กับภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ในการดำรงชีวิตท่ามกลางทรัพยากรป่าไม้บนฐานของการพึ่งพิงอย่างสมดุลและพอเพียง โดยพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์“มานิ” ดังกล่าวจะเสริมศักยภาพแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในพื้นที่อุทยานพฤกษศาสตร์ครอบคลุมการนำชมส่วนการจัดแสดงนิทรรศการภายในอาคาร
        พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ทั้ง 7 ห้อง การน าชมนิทรรศการหมุนเวียน การนำชมแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ภายในเขตพื้นที่อุทยานพฤกษศาสตร์ โดยแนวคิดและสาระการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์สนับสนุน “ชาติพันธุ์มานิ” (ซาไก) (CONTENT AND CONCEPT TO EXHIBITION MANAGEMENT) เชื่อมโยงกับพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) มีดังนี้
1) ฐานการเรียนรู้ที่ 1 “รู้จักชาติพันธุ์มานิในภาคใต้ของไทย”
2) ฐานการเรียนรู้ที่ 2 “บ้านของมานิ”
3) ฐานการเรียนรู้ที่ 3 “การทำมาหากินของมานิ”
4) ฐานการเรียนรู้ที่ 4 “สมุนไพรกับการดูแลสุขภาพของมานิ”
5) ฐานการเรียนรู้ที่ 5 “ความเชื่อและพิธีกรรมของชาติพันธุ์มานิ”
6) EXHIBITION PRESENTATION
7) SOUVENIR
        ดังนั้นจากกรอบแนวคิดในการสร้างพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ “มานิ” ดังกล่าว ได้นำเสนอวิถีชีวิตของ “มานิ” เป็นพื้นที่ให้ผู้คนเข้าใจกลุ่มคนเหล่านี้มากขึ้น รวมถึงเคารพสิทธิทางวัฒนธรรมของพวกเขา อีกทั้งพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์“มานิ” นี้จะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่นำเสนอภาพวิถีชีวิตทุกแง่มุมของกลุ่ม “มานิ” อย่างละเอียดและชัดเจนที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงเป็นพื้นที่การเรียนรู้สำคัญในการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยที่ไม่จำเป็นต้องเข้าไปคุกคามหรือบุกรุกพื้นที่จริงของพวกเขา

พิพิธภัณฑ์ชาติพันธ์มานิ
พิพิธภัณฑ์ชาติพันธ์มานิ
พิพิธภัณฑ์ชาติพันธ์มานิ

        ทั้งนี้เพื่อให้การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา อุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุตามเป้าประสงค์ที่มหาวิทยาลัย และ อพ.สธ.กำหนดไว้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประสานผู้สนับสนุนและแหล่งทุนในการจัดสร้างแหล่งเรียนรู้สนับสนุนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาในพื้นที่อุทยานพฤกศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยในเบื้องต้นได้ประสานงานกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในการสนับสนุนจัดสร้างแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์สนับสนุน “ชาติพันธุ์มานิซาไก” โดยเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2564 มหาวิทยาลัยวลัยวลักษณ์ นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและยุทธศาสตร์การพัฒนา และคณะ ได้เข้ารับเช็คทุนสนับสนุนจัดสร้างแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์มานิจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 2,000,000 บาท (สองล้านบาทถ้วน) ณ ห้อง 203 ชั้น 2 อาคารสำนักผู้ว่าการฯ (ท 100) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อ.บางกรวย จ.นนทบุรี เพื่อร่วมสนับสนุนการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์มานิดังกล่าวให้เป็นแหล่งศึกษาและเรียนรู้วิถีชีวิตชนเผ่าพื้นเมืองที่สำคัญในภาคใต้ต่อไป อีกทั้งอุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้วางแผนในการประสานแหล่งทุนอื่น ๆ เช่น สำนักงานกองสลาก บริษัท SCG บริษัทปูนซิเมนต์ไทย และ ปตท. เป็นต้น เพื่อสนับสนุนการจัดสร้างแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ดังกล่าว ซึ่งเกี่ยวข้องกับฐานทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพและทรัพยากรวัฒนธรรมภูมิปัญญาให้เกิดการเชื่อมโยงและยกระดับแหล่งเรียนรู้ด้านทรัพยากรให้มีความน่าสนใจ มีความโดดเด่นเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิตแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป ซี่งการดำเนินงานด้านพิพิธภัณฑ์ดังกล่าวของอุทยานพฤกษศาสตร์ถือเป็นอีกหนึ่งภารกิจในการสนับสนุนตัวชี้วัดที่ 11-Sustainable Cities and Communities (เสริมความพยายามในการปกป้องและคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติของโลก) ในส่วนของตัวชี้วัดย่อย 11.2.3 Public access to museums ในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้มรดกทางด้านวัฒนธรรมและธรรมชาติตามกรอบมาตรฐาน The Impact Rankings Analysis (SDG) ที่ก้าหนดไว้เป็นอย่างดี