SDG2.1
Bota Market

พฤหัสหรรษา

Bota Green Market

ความเป็นมาและความสำคัญ

        ตามที่อุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้พัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวและแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต Lifelong Learning มีกิจกรรมพร้อมบริการเช่น ลานกางเต็นท์ สวนสมุนไพร สวนกล้วยเทิดพระเกียรติ กลุ่มโรงเรือนต่างๆ กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมทางดาราศาสตร์ อีกทั้งกำลังพัฒนาเส้นทางศึกษาธรรมชาติและ Canopy Walkway รวมถึงโครงการตลาดพฤหัสหรรษา Bota Market Chic & Chill ในพื้นที่อุทยานพฤกษศาสตร์

     ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เข้าสู่ World Rankings ด้านสิ่งแวดล้อม อุทยานพฤกษศาสตร์จึงได้วางแผนการดำเนินงาน การปรับกลยุทธ์จากตลาด “พฤหัสหรรษา Bota Market Chic & Chill” เข้าสู่ตลาด “พฤหัสหรรษา Bota Green Market” หรือ ตลาดสีเขียว ซึ่งในยุคที่พลังงานมีราคาสูงขึ้น สภาพแวดล้อมเป็นพิษ การกำจัดขยะทำได้ยากขึ้นและบทบาทของพลาสติกเข้ามาแทนที่ในชีวิตประจำวัน ทำให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และอุทยานพฤกษศาสตร์คำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและเกิดกระแสสำนึกต่อสภาพแวดล้อมเพิ่มขึ้น ในการดำเนินการจัดตลาดนัดในพื้นที่มหาวิทยาลัย จึงมีแนวคิดในการสนับสนุนการเลือกใช้สินค้าที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ใช้บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ ย่อยสลายได้ ลดการใช้โฟมและพลาสติกสนับสนุนสินค้าจากชุมชน สินค้าเกษตรอินทรีย์ พืชผักปลอดสารพิษ และผู้ประกอบการร้านค้าต้องรับผิดชอบต่อสังคม ในการผลิตผลิตภัณฑ์หรืออาหารที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและสภาพแวดล้อม รวมถึงการสร้างจิตสำนึก ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

วัตถุประสงค์

  • 1.เพื่อรณรงค์ สร้างความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่มาใช้บริการในตลาดพฤหัสหรรษา Bota Green Market
  • 2.เพื่อสนับสนุนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เข้าสู่ World Rankings ด้านสิ่งแวดล้อม และมหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างสมบูรณ์แบบ
  • 3.เพื่อพัฒนาต่อยอดโครงการตลาดพฤหัสหรรษา Bota Market Chic & Chill เป็น พฤหัสหรรษา Bota Green Market
  • 4.ผู้ประกอบการลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายยาก เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น พลาสติก โฟมฯลฯ และเน้นใช้บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติมากขึ้น
  • 5.ผู้ประกอบการและผู้บริโภคเข้าใจ และสามารถแยกขยะที่เกิดขึ้นตามชนิดได้อย่างถูกต้อง เพื่อง่ายต่อการจัดการขยะต่อไป เช่น ขยะ Recycle
  • 6.เพื่อส่งเสริม สนับสนุน สร้างโอกาสทางการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการในตลาดนัดสีเขียวและมีการเชื่อมโยงตลาดท้องถิ่นให้มีช่องทางการจำหน่ายมากขึ้น
Bota Market

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • 1.ผู้บริโภคได้รับ เข้าถึงผลิตภัณฑ์ อาหาร ที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • 2.ผู้ประกอบการลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตมาจากโฟมหรือพลาสติก ที่ย่อยสลายยาก และกลับมาใช้
    บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติมากขึ้น
  • 3.ผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ตระหนัก เข้าใจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทุกมิติมากขึ้น
  • 4.เกิดพื้นที่สนับสนุนสินค้าเกษตรอินทรีย์จากชุมชน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน การกระจายรายได้สู่
    ชุมชน และยกระดับสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น
  • 5.ลดปริมาณขยะที่เกิดจากตลาด และมลพิษจากการกำจัดขยะได้อย่างยั่งยืน
  • 6.สร้างจิตสำนึกในการใช้วัสดุธรรมชาติ รักษาสิ่งแวดล้อมแก่ผู้ประการและผู้บริโภคได้มากขึ้น
  • 7.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ผ่านการประเมิน National Hunger ด้าน Sustainable food purch

ผลผลิตและตัวชี้วัดความสำเร็จ

    เกิดตลาด “พฤหัสหรรษา Bota Green Market” หรือ ตลาดสีเขียว ตามแนวทางการพัฒนาและแผนยุทธศาสตร์ให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ผ่านการประเมิน National Hunger ด้าน Sustainable food purchases อีกทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และอุทยานพฤกษศาสตร์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในระดับภูมิภาคและประเทศ อีกทั้งสนองนโยบายการใช้พื้นที่ลานทางเข้าให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน องค์กร และส่วนรวม การบริหารจัดการตลาดให้สอดคล้องกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และสร้างรายได้แก่ชุมชนและอุทยานพฤกษศาสตร์เพื่อนำมาพัฒนาอุทยานพฤกษศาสตร์และมหาวิทยาลัยต่อไป

กิจกรรมและช่วงเวลาที่จะดําเนินการ

  • 1.จัดให้มีตลาดนัดทุกวันพฤหัสบดี ตั้งแต่เวลา 16.00 – 21.00 น.
  • 2.จัดให้มีกิจกรรมต่างๆ เช่น การแสดง ดนตรี ฉายหนังกลางแปลง ดูดาว สื่อประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมอื่นๆ ที่สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่มาใช้บริการ
  • 3.ชี้แจงทำความเข้าใจ ประชาสัมพันธ์ แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่มาใช้บริการ ให้ตระหนักในความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม การใช้วัสดุธรรมชาติ
  • 4.ตลาดนัดเน้นอาหารสุขภาพ อาหารท้องถิ่น สินค้าเกษตรอินทรีย์ สินค้าแฮนเมด สินค้าหัตถกรรม ต้นไม้ และสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆตามความเหมาะสม
  • 5.มีจุดบริการคัดแยกขยะ เพื่อง่ายต่อการจัดเก็บและนำไปกำจัดให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ
  • 6.รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ทุกช่องทางอย่างต่อเนื่อง เพื่อการตระหนัก รับรู้ เข้าใจอย่างทั่วถึง