เป้าหมาย

เพื่อให้การดำเนินงานโครงการอุทยานพฤกษศาสตร์  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้  จึงได้กำหนดเป้าหมายไว้ดังนี้

                         2.1    การออกแบบอุทยานพฤกษศาสตร์

ดำเนินการจัดแบ่งพื้นที่ใช้ประโยชน์ของอุทยานพฤกษศาสตร์ตามบทบาทภารกิจ  โดยแบ่งออกเป็น 12 ส่วนดังนี้

2.1.1  อาคารที่ทำการ (Administration office)

เป็นศูนย์กลางดำเนินการ ติดต่อประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

2.1.2  สถานเพาะชำและขยายพันธุ์พืช (Nursery & Plant propagation center)

เป็นศูนย์เพาะชำแบบเปิด เพื่อดำเนินการเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์พืชจากการรวบรวมพันธุ์ทั้งจากพื้นที่มหาวิทยาลัยและจากภายนอก

2.1.3  โรงเก็บเครื่องมือและวัสดุการเกษตร (Agriculture tools & Storage building)  เป็นโรงเรือนสำหรับเก็บอุปกรณ์และวัสดุทางการเกษตร ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และเก็บยานพาหนะที่สนับสนุนงานของอุทยานพฤกษศาสตร์

2.1.4  สวนพฤกษชาติ (Flowering garden)

เป็นบริเวณที่จัดสวนไม้ดอกไม้ประดับประจำวงศ์ต่างๆ  อย่างสวยงาม เพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจแก่คนที่เข้ามาเยี่ยมชมอุทยานพฤกษศาสตร์

2.1.5  สวนรุกขชาติ (Arboretum)

เป็นพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ยางนา (Dipterocarpus alatus)  ซึ่งเป็นไม้ดั้งเดิมของพื้นที่  ปรับแต่งพื้นที่เบื้องล่างให้เป็นแปลงรวบรวมพันธุ์ไม้ประจำวงศ์ต่างๆ ทั้งที่เป็นไม้พุ่ม ไม้เลื้อย และไม้ล้มลุก จัดตกแต่งให้เป็นสวนอย่างสวยงามและเป็นหมวดหมู่ตามหลักการทางพฤกษอนุกรมวิธาน เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ตามอัธยาศัย

วงศ์ไม้พฤกษชาติและรุกขชาติสำคัญของประเทศไทยที่จะจัดแสดง ได้แก่

 

วงศ์พืชใบเลี้ยงคู่ วงศ์พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
 

1. วงศ์ช้องนาง   (Family Acanthaceae)

2. วงศ์ก่วม  (Family Aceraceae )

3. วงศ์ปรู่ (Family Alangiaceae)

4. วงศ์ผักโขม (Family Amaranthaceae)

5. วงศ์มะม่วง  (Family Anacardiaceae)

6. วงศ์กระดังงา (Family Annonaceae)

7. วงศ์ผักชี  (Family Apiaceae)

8. วงศ์โมก  (Family Apocynaceae)

9. วงศ์ศิลา  (Family Aquifoliaceae)

10.วงศ์ต้าง  (Family Araliaceae)

11.วงศ์ไก่ฟ้า  (Family Aristolochiacea)

12.วงศ์สลิด  (Family Asclepiaceae)

 

13.วงศ์ทานตะวัน  (Family Asteraceae)

14.วงศ์ตะลิงปลิง (Family  Averrhoaceae)

15.วงศ์ปีบ  (Family Bignoniaceae)

16.วงศ์คำแสด  (Family Bixaceae)

17.วงศ์งิ้ว   (Family Bombacaceae)

18.วงศ์ราชาวดี  (Family Buddlejaceae)

19.วงศ์มะแฟน  (Family Burseraceae)

20.วงศ์โบตั๋น   (Family Cactaceae)

21.วงศ์หางนกยูง  (Family Caesalpiniaceae)

22.วงศ์กุ่ม   (Family Capparidaceae)

23.วงศ์สายน้ำผึ้ง  (Family Caprifoliaceae)

24.วงศ์สนทะเล  (Family Casuarinaceae)

25.วงศ์กระทงลาย  (Family Celastraceae)

26.วงศ์กระทิง (Family Clusiaceae)

27.วงศ์สุพรรณิการ์(Family Cochlospermaceae)

28.วงศ์สมอ (Family Combretaceae)

29.วงศ์ถอบแถบ  (Family Connaraceae

30.วงศ์ผักบุ้ง   (Family Convolvulaceae)

31.วงศ์แตง   (Family Cucurbitaceae)

32.วงศ์ส้าน   (Family Dilleniaceae)

33.วงศ์ยาง  (Family Dipterocarpaceae)

34.วงศ์มะพลับ  (Family Ebenaceae)

35.วงศ์ปอหมัน  (Family Ehretiaceae)

36.วงศ์มะหลอด  (Family Elaeagnaceae)

37.วงศ์ไคร้ย้อย  (Family Elaeocapaceae)

38.วงศ์กุหลาบป่า  (Family Ericaceae)

39.วงศ์เปล้า  (Family Euphorbiaceae)

40.วงศ์ถั่ว  (Family Fabaceae)

41.วงศ์ก่อ  (Family Fagaceae)

 

42.วงศ์จิก  (Family Barringtiniaceae)

43.วงศ์โกงกาง  (Family Rhizophoraceae)

44.วงศ์ตะขบไทย  (Family Flacourtaceae)

45.วงศ์ติ้ว  (Family Hypericaceae)

46.วงศ์มะยัง  (Family Icacinaceae)

47.วงศ์กะบาก  (Family Irvingiaceae)

48.วงศ์กะเพรา  (Family Lamiaceae)

49.วงศ์อบเชย  (Family  Lauraceae)

50.วงศ์กันเกรา  (Family Loganiaceae)

51.วงศ์ตะแบก  (Family Lythraceae)

52.วงศ์จำปา   (Family ) Magnoliaceae)

53.วงศ์โนรา  (Family Malpighiaceae)

54.วงศ์ชบา   (Family  Malvaceae)

55.วงศ์โคลงเคลง  (Family Melastomaceae)

56.วงศ์เลี่ยน  (Family Meliaceae )

57.วงศ์สะตอ  (Family Mimosaceae)

58.วงศ์มะเดื่อ  (Family Moraceae)

59.วงศ์จันทน์เทศ  (Family Myristicaceae)

60.วงศ์ข้าวสารหลวง (Family Myrsinaceae)

61.วงศ์ชมพู่  (Family Myrtaceae)

62.วงศ์บัวหลวง  (Family Nelumbonaceae)

63.วงศ์บอระเพ็ด (Family  Menispermaceae)

64.วงศ์บานเย็น   (Family Nyctaginaceae)

65.วงศ์บัวเผือน  (Family Nympheaeceae)

66.วงศ์ช้างน้าว  (Family Ochnaceae)

67.วงศ์นางชม  (Family Olacaceae)

68.วงศ์มะลิ   (Family Oleaceae)

69.วงศ์กระทกรก  (Family Passifloraceae)

70.วงศ์พริกไทย  (Family Piperaceae)

 

71.วงศ์ผักไผ่ต้น  (Family Pittosporaceae)

72.วงศ์ผักไผ่   (Family Polygonaceae)

73.วงศ์พรมคต  (Family Proteaceae)

74.วงศ์พุทรา  (Family Rhamnaceae)

75.วงศ์กุหลาบ  (Family Rosaceae)

76.วงศ์เข็ม (Family Rubiaceae)

77.วงศ์ส้ม (Family Rutaceae)

78.วงศ์เดื่อหลวง  (Family Sabiaceae)

79.วงศ์หลิว  (Family Salicaceae)

80.วงศ์พิกุล  (Family Sapotaceae)

81.วงศ์แวววิเชียร (Family Scrophulariaceae)

82.วงศ์ปลาไหลเผือก (Family Simaroubaceae)

83.วงศ์มะเขือ (Family Solanaceae)

84.วงศ์ลำพูป่า (Family Sonneratiaceae)

85.วงศ์ลำไย  (Family Spindaceae)

86.วงศ์จำปาเทศ (Family Sterculiaceae)

87.วงศ์กำยาน  (Family Symplocaceae)

88.วงศ์ทะโล้ (Family Theaceae)

89.วงศ์กฤษณา (Family Thymeleeaceae)

90.วงศ์ไม้ลาย  (Family Tiliaceae)

91.วงศ์ปอแฟน  (Family Ulmaceae)

92.วงศ์ป่าน (Family Urticaceae)

93.วงศ์นางแย้ม (Family Verbenaceae)

94.วงศ์องุ่น  (Family Vitaceae)

 

 

1. วงศ์วาสนา  (Family Agavaceae)

2. วงศ์พลับพลึง  (Family Amaryllidaceae)

3. วงศ์บอน   (Family  Araceae)

4. วงศ์ปาล์ม  (Family  Arecaceae)

5. วงศ์พุทธรักษา  (Family  Cannaceae)

6. วงศ์ผักปราบ  (Family  Commelinaceae)

7. วงศ์เอื้องหมายนา  (Family  Costaceae)

8. วงศ์กระจูด  (Family  Cyperaceae)

9. วงศ์หญ้าหัวหงอก (Family  Eriocualaceae)

10.วงศ์หวายลิง  (Family  Flagellariaceae)

11.วงศ์กง  (Family  Hanguanaceae)

12.วงศ์ธรรมรักษา (Family   Heliconiaceae)

 

13.วงศ์สันตะวาใบพาย ( Family

Hydrocharitaceae)

14.วงศ์แหน  (Family  Lemnaceae)

15.วงศ์ดองดึง  (Family  Liliaceae)

16.วงศ์คล้า  (Family  Maranthaceae)

17.วงศ์กล้วย (Family  Musaceae)

18.วงศ์กล้วยไม้  (Family  Orchidaceae

19.วงศ์เตย (Family  Pandanaceae)

20.วงศ์ผักกระจับ (Family  Philydraceae)

21.วงศ์หญ้า (Family  Poaceae)

22.วงศ์ผักตบชวา (Family  Pontederaceae)

23.วงศ์ข้าวเย็นเหนือ (Family   Smilacaceae)

24.วงศ์กลอย (Family  Dioscoreaceae)

25.วงศ์กล้วยพัด (Family   Strelitziaceae)

26.วงศ์ว่านค้างคาว (Family  Taccaceae)

27.วงศ์กกธูป  (Family  Typhaceae)

28.วงศ์ขิง  (Family  Zingiberaceae

 

  • สวนพืชน้ำและสวนเฟิร์น (Aquatic garden & Fern garden)

เป็นสวนที่จัดแสดงพันธุ์ไม้น้ำและเฟิร์นในวงศ์ต่างๆ โดยการจัดสวนพืชน้ำและเฟิร์นให้เกิดความผสมกลมกลืนสภาพพื้นที่ที่เป็นธรรมชาติเดิมของอุทยาน

 

  • สวนปรง (Cycad garden)

เป็นแหล่งรวบรวมและจัดแสดงพันธุ์ไม้วงศ์ปรง (Family Cycadaceae) ทั้งปรงในประเทศและปรงต่างประเทศที่น่าสนใจ

  • สวนไผ่ (Bamboo garden)

เป็นแหล่งรวบรวมและจัดแสดงพันธุ์ไม้สกุลต่างๆ ของไผ่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับความหลากหลายของไผ่และการวิจัย  สกุลต่างๆ ของไผ่ที่จัดแสดง ได้แก่

 

ชื่อสกุลของไผ่ (Genus) ตัวอย่างชนิดของไผ่
1.  Arundinaria ไผ่โจด  ไผ่เพ็ก  ไผ่จีน  ไผ่ด่าง
2.  Bambusa ไผ่สีสุก ไผ่เหลือง ไผ่เลี้ยง  ไผ่ป่า ไผ่ลำมะลอก

ไผ่บง  ไผ่บงดำ  ไผ่บงหนาม ไผ่น้ำเต้า  ไผ่หอม

3.  Cephalostachyum ไผ่ข้าวหลาม  ไผ่เฮี้ยะ
4.  Dendrocalamus ไผ่ตง  ไผ่ซาง  ไผ่ซางนวล ไผ่ซางหม่น ไผ่ซางดำ

ไผ่ซางเขียว  ไผ่บงใหญ่  ไผ่บงหก ไผ่เป๊าะ

5.  Dinochloa ไผ่คลาน   ไผ่เลื้อย
6.  Gigantochloa ไผ่ไร่  ไผ่ผาก  ไผ่ตากวาง  ไผ่มัน  ไผ่ซอด ไผ่ไลล่อ

ไผ่ด้ามพร้า   ไผ่คายดำ  ไผ่ผากมัน  ไผ่หกลำ

7.  Melocalamus ไผ่หางช้าง
8.  Melocanna ไผ่เกรียบ
9.  Schizostachyum ไผ่โป  ไผ่ปล้องยาว  ไผ่เมี่ยงไฟ ไผ่กะแสนดำ
10. Thyrsotachyum ไผ่รวก   ไผ่รวกดำ  ไผ่รวกแดง  ไผ่รวกเล็ก
11. Teinostachyum  ไผ่บงเลื้อย  ไผ่เฮียะเครือ

 

  • พื้นที่อนุรักษ์พืชพรรณ (Conservative area)

เป็นเขตอนุรักษ์ป่าดั้งเดิมของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งได้แก่ ป่าพรุ  ป่าสวนสมรมและป่าพืชเศรษฐกิจ ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติให้มากที่สุด เพื่อเป็นแหล่งรักษาพันธุกรรมพืชและแหล่งศึกษาวิจัยทางนิเวศวิทยาพืช  การปรับพื้นที่ให้เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติจะต้องไม่เป็นการทำลายสภาพเดิม  ดังนั้นการเข้าศึกษาในพื้นที่นี้จะใช้เส้นทางเดินชมธรรมชาติ ตลอดเส้นทางมีป้ายชื่อพืชและป้ายนิเทศก์ที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์พืชชนิดเด่นของบริเวณนั้นและมีศาลานั่งพักกระจายอยู่เป็นระยะๆ

  • ศูนย์จัดกิจกรรมค่ายพักแรม (Camp Ground )

เป็นแหล่งที่พักรับรองและจัดกิจกรรมค่ายพักแรมสำหรับกลุ่มนักเรียน  นักศึกษาทั่วไป นักเรียนค่ายโอลิมปิกวิชาการและกลุ่มคนที่รักธรรมชาติ ภายในพื้นที่บริเวณนี้ประกอบด้วยเรือนพักรับรอง พร้อมระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน และลานสำหรับทำกิจกรรมรอบกองไฟในเวลากลางคืน

  • ลานจอดรถ (Car park)

เป็นพื้นที่ที่จัดไว้สำหรับจอดรถของผู้ที่มาเข้าชมธรรมชาติ เดินป่าหรือเข้ามาพักในเรือนรับรองของอุทยานพฤกษศาสตร์  เป็นลานจอดรถที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของไม้ใหญ่ ใกล้ทางเข้าออกของอุทยาน

  • ศูนย์จำหน่ายพันธุ์พืช (Plant sales center)

เป็นแหล่งจำหน่ายต้นกล้าพันธุ์ที่ผลิตได้จากฝ่ายเพาะขยายพันธุ์พืชของอุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  จำหน่ายแก่ผู้สนใจที่เข้าชมซึ่งมีความต้องการหรือสนใจพืชบางชนิดเป็นพิเศษ

 

2.2  การรวบรวมพันธุ์พืช

ดำเนินการรวบรวมพันธุ์พืชในวงศ์ต่างๆ ให้ได้จำนวน  10,000  ชนิด ภายในช่วงระยะเวลา 5 ปี โดยวางแผนการรวบรวมพันธุ์พืชไว้ดังนี้

ปี พ.ศ. 2549  รวบรวมพันธุ์พืชให้ได้จำนวน    2,000  ชนิด

ปี พ.ศ. 2550  รวบรวมพันธุ์พืชให้ได้จำนวน    4,000  ชนิด

ปี พ.ศ. 2551  รวบรวมพันธุ์พืชให้ได้จำนวน    6,000  ชนิด

ปี พ.ศ. 2552  รวบรวมพันธุ์พืชให้ได้จำนวน    8,000  ชนิด

ปี พ.ศ. 2553  รวบรวมพันธุ์พืชให้ได้จำนวน  10,000  ชนิด

 

2.3   การปลูกและขยายพันธุ์พืช

หลังจากที่เก็บรวบรวมพันธุ์พืชได้แล้วก็จะนำตัวอย่างพืชลงปลูกในแปลงของแต่ละวงศ์ตามที่ได้ออกแบบไว้ตั้งแต่ต้น ในขณะเดียวกันก็มีการขยายพันธุ์พืชเพื่อเพิ่มปริมาณสำหรับปลูกเพิ่มและเพื่อการจำหน่ายหารายได้เข้าสู่อุทยานพฤกษศาสตร์

 

 

 

 

 

  • การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพันธุ์พืช

เมื่อมีการเก็บรวบรวมพันธุ์พืชไว้อย่างเป็นระบบหมวดหมู่ในแปลงปลูกจริง ตัวอย่างพืชเหล่านี้ก็จะเป็นแหล่งพันธุกรรมพืชที่สำคัญสำหรับใช้เป็นตัวอย่างในการศึกษาวิจัยต่อไป เช่น   การวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายของพันธุ์พืชในระดับวงศ์ สกุล และชนิดพันธุ์

 

  • การเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ

ดำเนินการจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการของอุทยานพฤกษศาสตร์ทั้งในรูปแผ่นพับ การจัดนิทรรศการในโอกาสต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกอุทยาน การจัดประชุมสัมมนาและการประชาสัมพันธ์ในกิจกรรมค่ายพักแรม

 

  • การจัดทำแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

พัฒนาพื้นที่โครงการอุทยานพฤกษศาสตร์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามจากพันธุ์ไม้หลากหลายของสวนพฤกษชาติ รุกขชาติ และป่าอนุรักษ์ที่หลากหลายชนิด  ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้าชมธรรมชาติได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัย

 

  • การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ดำเนินการฟื้นฟูและอนุรักษ์ผืนป่าดั้งเดิมของมหาวิทยาลัยเอาไว้ให้คงอยู่ในสภาพเดิมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดพันธุ์พืช จะพยายามเพาะขยายพันธุ์ไม้ดั้งเดิมที่หายากให้มีปริมาณมากขึ้น เพื่อปลูกในแปลงและจำหน่ายแก่ผู้สนใจทั่วไป

 

  • การจัดทำโครงสร้างพื้นฐาน

เพื่อเป็นการจัดตั้งอุทยานพฤกษศาสตร์ ตามรูปแบบสากล ดังนั้นการวางรากฐานของงานโครงสร้างต่าง ๆ จึงต้องออกแบบ และจัดสร้างอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความสวยงาม  สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติเดิมของพื้นที่